Microsoft เผยnลยุทธ์ใช้ AI ทรานฟอร์มธุรกิจ พร้อมตัวอย่างจากทั่วโลกกว่า 400 เคส

Microsoft เผยnลยุทธ์ใช้ AI ทรานฟอร์มธุรกิจ พร้อมตัวอย่างจากทั่วโลกกว่า 400 เคส

Business

6 นาที

24 เม.ย. 2025

แชร์

ยุคนี้สมัยนี้ ใครๆ ก็พูดถึงแต่เรื่อง “Transformation” หรือการพลิกโฉมธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กใหญ่ ต่างก็พยายามปรับตัวเพื่อให้อยู่รอด และเติบโตต่อไปได้ในโลกดิจิทัลที่หมุนเร็วจนตามแทบไม่ทัน ซึ่งเทคโนโลยีที่มาแรงแซงทุกโค้ง และถูกพูดถึงมากที่สุดในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจยุคนี้ ก็คือ “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ AI ยิ่งมองไปในระดับโลก ก็เห็นแต่บริษัทที่หันมาใช้ AI กันแล้วทั้งนั้น

เมื่อเดือนมีนาคมปี 2568 ที่ผ่านมา Microsoft ได้รวบรวมเคสตัวอย่างเจ๋ง ๆ กว่า 400 เคส จากองค์กรกว่า 140 แห่งทั่วโลก ที่สกัดเอาความสามารถของ AI ออกมาพลิกโฉมธุรกิจและทีมงานแบบรอบด้าน

4 แนวทางใช้ AI “พลิกโฉมธุรกิจ” เรียนรู้จากกรณีศึกษาจริง!


1. ใช้ AI ยกระดับประสบการณ์พนักงาน (Enriching Employee Experiences)

ในโลกการทำงานยุคใหม่ ความพึงพอใจและประสิทธิภาพของพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ ธุรกิจสามารถนำ AI มาใช้เพื่อยกระดับประสบการณ์ของพนักงานได้หลากหลายรูปแบบ
  • เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: AI สามารถช่วยจัดการงานประจำที่ซ้ำซาก เช่น การจัดตารางนัดหมาย การกรอกข้อมูลเบื้องต้น หรือการสรุปรายงาน ทำให้พนักงานมีเวลาไปโฟกัสกับงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์และการตัดสินใจมากขึ้น
  • ระบบช่วยเหลือและให้ข้อมูลอัจฉริยะ: บริษัทขนาดใหญ่อาจมีคำถามและกระบวนการภายในที่ซับซ้อน AI สามารถพัฒนาเป็นระบบแชทบอทอัจฉริยะที่ตอบคำถามพนักงาน ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการ นโยบายบริษัท หรือขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดภาระงานของฝ่ายบุคคลและเพิ่มความสะดวกสบายให้พนักงาน
  • การเรียนรู้และพัฒนาทักษะเฉพาะบุคคล: AI สามารถวิเคราะห์ทักษะและความสนใจของพนักงานแต่ละคน เพื่อนำเสนอหลักสูตรฝึกอบรมและพัฒนาที่เหมาะสมและตรงจุด ช่วยให้พนักงานเติบโตในสายงานและเพิ่มพูนศักยภาพ
  • การวิเคราะห์ความรู้สึกและข้อเสนอแนะ: AI สามารถวิเคราะห์ความคิดเห็นของพนักงานจากแบบสำรวจหรือช่องทางการสื่อสารภายใน เพื่อระบุจุดที่ต้องปรับปรุงและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น
กรณีศึกษาจริง: ธุรกิจ FMCG เจ้าใหญ่ Unilever ยกเครื่องกระบวนการทำการตลาดครั้งใหญ่ ด้วยการมีผู้ช่วยคนใหม่สุดปังอย่าง Copilot ใน Dynamics 365 Customer Service ช่วย “ทุ่นแรง” ทีมการตลาดในการ “บรีฟงาน” ที่บางทีก็กินเวลาเป็นวัน ๆ แถมยังช่วยดึงข้อมูลแนวโน้มตลาด คอนเทนต์โดน ๆ และข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้อง มาให้แบบอัตโนมัติ! ทำให้ทีมการตลาดของ Unilever สามารถปล่อยแคมเปญโฆษณาได้รวดเร็วขึ้น

2. ใช้ AI สร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้า (Reinventing Customer Engagement)
การสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจ AI มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีที่ธุรกิจไทยเข้าถึง และสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าให้ดีขึ้นไปอีก
  • การตลาดและการขายแบบเฉพาะบุคคล: AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า เช่น ประวัติการซื้อ ความสนใจ หรือพฤติกรรมการใช้งาน เพื่อนำเสนอสินค้า บริการ หรือโปรโมชั่นที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างแม่นยำ
  • บริการลูกค้าอัจฉริยะ: แชทบอทและผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistant) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถให้บริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ตอบคำถาม แก้ไขปัญหาเบื้องต้น หรือให้คำแนะนำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ช่วยลดภาระงานของเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า
  • การวิเคราะห์ความรู้สึกของลูกค้า: AI สามารถวิเคราะห์ความคิดเห็นของลูกค้าจากช่องทางต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย รีวิว หรืออีเมล เพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของลูกค้าได้อย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การปรับปรุงสินค้า บริการ และประสบการณ์ลูกค้าโดยรวม
  • การสร้างประสบการณ์ลูกค้าที่แปลกใหม่: AI สามารถถูกนำมาใช้ในการสร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นเอกลักษณ์ให้กับลูกค้า เช่น การนำเสนอสินค้าแบบเสมือนจริง (AR/VR) หรือการสร้างเกมและกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับแบรนด์
กรณีศึกษาจริง: บริษัทประกัน AIA ก็ใช้ Copilot ช่วย “เซฟเวลา” ของทีมบริการลูกค้า ช่วยจัดการงานที่กินเวลาชีวิตพนักงานไปเยอะ อย่างการ ร่างอีเมลตอบลูกค้าหรือสรุปแชท รวมถึงสรุปประวัติเคสให้แบบอัตโนมัติ! ผลลัพธ์ที่ได้คือพนักงานบริการลูกค้าของ AIA มีเวลาเหลือไปดูแลเคสอื่น ๆ ได้เยอะขึ้น ใช้เวลาทำงานน้อยลงกว่าเดิม

3. ใช้ AI ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ (Reshaping Business Processes)
AI ไม่เพียงแต่ช่วยยกระดับประสบการณ์ของคนเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพและลดต้นทุนในกระบวนการทางธุรกิจต่างๆ:
ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ (Intelligent Automation): AI สามารถทำงานที่ซ้ำซากและใช้เวลานาน เช่น การป้อนข้อมูล การตรวจสอบเอกสาร หรือการอนุมัติเบื้องต้น ได้โดยอัตโนมัติ ช่วยให้พนักงานมีเวลาไปทำงานที่ซับซ้อนและต้องใช้การตัดสินใจมากขึ้น
  • การคาดการณ์และการวางแผน: AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตและปัจจุบันเพื่อคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต เช่น ความต้องการของตลาด การเปลี่ยนแปลงของราคา หรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างแม่นยำยิ่งขึ้น
  • การจัดการห่วงโซ่อุปทานอัจฉริยะ: AI สามารถช่วยในการติดตามสินค้าคงคลัง ปรับปรุงการขนส่ง และคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า ทำให้ห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากขึ้น
  • การควบคุมคุณภาพอัจฉริยะ: AI สามารถใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าในสายการผลิตได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ช่วยลดข้อผิดพลาดและของเสีย
กรณีศึกษาจริง: บริษัทโฆษณา Dentsu จับเอา Microsoft Azure AI Foundry และ Azure OpenAI Service มาเนรมิต “ผู้ช่วยนักวิเคราะห์พยากรณ์” สุดล้ำ! AI ตัวนี้ เก่งกาจในการช่วยเรื่องข้อมูลเชิงลึกด้านสื่อ ลดเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลไปได้ถึง 80% แถมยังช่วยให้เข้าถึง ข้อมูลเชิงลึก (Insight) เร็วขึ้นถึง 90% เลยทีเดียว! ที่สำคัญคือต้นทุนการวิเคราะห์ลดลงไปได้เยอะมาก

4. ใช้ AI เร่งการสร้างสรรค์นวัตกรรม (Bending the Curve on Innovation)
AI ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือในการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ แต่ยังเป็นตัวเร่งสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ
  • การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics): AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อค้นหาแนวโน้ม ความสัมพันธ์ และข้อมูลเชิงลึกใหม่ ๆ ที่อาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ หรือโมเดลธุรกิจใหม่
  • การสร้างแบบจำลองและการจำลองสถานการณ์ (Modeling and Simulation): AI สามารถใช้ในการสร้างแบบจำลองและจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อทดสอบแนวคิดใหม่ ๆ และประเมินความเป็นไปได้ก่อนที่จะลงทุนจริง
  • การค้นพบยาและวัสดุใหม่: ในอุตสาหกรรมยาและวัสดุศาสตร์ AI สามารถช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์จำนวนมากเพื่อค้นพบยาใหม่หรือวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษ
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะ: AI เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะ เช่น รถยนต์ไร้คนขับ อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ หรือแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้ใช้
กรณีศึกษาจริง: บริษัทยานยนต์ Toyota ได้ส่ง Multi-AI Agent ที่สร้างจาก Azure OpenAI Services ของ Microsoft ไปช่วยดึงพลังสมองของเหล่าวิศวกรมาช่วยกันสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เร็วยิ่งขึ้น! โดยได้ตั้งชื่อให้ระบบนี้ว่า “O-Beya” ซึ่งมีเอเจนต์ AI สุดฉลาดถึง 9 ตัว! ตั้งแต่ “AI นักสั่นสะเทือน” ยัน “AI นักซดน้ำมัน” ทำหน้าที่เหมือนเป็นทีมงานผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยวิเคราะห์ทุกแง่มุม ให้วิศวกรของ Toyota สามารถระดมสมองและ สร้างไอเดียใหม่ ๆ ได้แบบติดเทอร์โบ

🔎 อ่านกรณีศึกษาทั้งหมดกว่า 400 เคส

สามารถดูได้ที่ Microsoft Official Blog: https://blogs.microsoft.com/blog/2025/03/10/https-blogs-microsoft-com-blog-2024-11-12-how-real-world-businesses-are-transforming-with-ai/

แต่ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง AI เข้ามาใช้งาน องค์กรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนา “ทักษะด้าน AI” ของบุคลากรเป็นอันดับแรก เพราะไม่ว่า AI จะทรงพลังแค่ไหน หากบุคลากรในองค์กรไม่มีความรู้ความเข้าใจ หรือทักษะที่จำเป็นในการใช้งานและทำงานร่วมกับ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทีมคุณมีทักษะด้าน AI พร้อมหรือยัง!?

ถึงเวลาแล้วที่จะยกระดับทีมให้พร้อมสำหรับอนาคตขององค์กร ด้วย Microsoft Certified Training หลักสูตรฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองจาก Microsoft โดยตรง!

🚀 ทำไมต้องเรียน Microsoft Certified Training กับ True Digital Academy?
  • เนื้อหาเข้มข้น อัปเดตล่าสุด: เรียนรู้เทคโนโลยี AI ของ Microsoft อย่างเจาะลึก ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงระดับมืออาชีพ
  • เรียนสดกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ: ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จริง พร้อมให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด
  • ต่อยอดได้จริง: เน้นการนำ AI ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใบรับรองจาก Microsoft: ได้รับการยอมรับในระดับสากล สร้างความมั่นใจและความน่าเชื่อถือให้กับทีมงาน
📌สนใจอบรม Microsoft Certified Training? ติดต่อเราได้เลย
อีเมล: [email protected]
โทร: 082-297-9915 (คุณโรส)