5 Prompt Frameworks คุยกับ AI ให้เวิร์กขึ้นทันที

5 Prompt Frameworks คุยกับ AI ให้เวิร์กขึ้นทันที

Business

3 นาที

19 พ.ค. 2025

แชร์

ในยุคที่ AI โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ChatGPT กลายมาเป็นผู้ช่วยคู่ใจของคนทำงานเกือบทุกสาย ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การวางกลยุทธ์ การคิดคอนเทนต์ หรือแม้แต่การแก้ปัญหา หลายคนกลับยังรู้สึกว่า

“ถามไปก็ตอบไม่ตรงที่ต้องการ”
“คำตอบออกมาเวิ่นเว้อ ไม่เข้าเรื่อง”
“ต้องลองพิมพ์ใหม่หลายรอบกว่าจะได้คำตอบดี ๆ”

บางทีปัญหาไม่ได้อยู่ที่ GenAI แต่อาจเป็นที่การตั้งคำถาม หรือการให้ Prompt ของเราเองมากกว่า

Khizer Abbas (ผู้เชี่ยวชาญด้าน Growth Marketing) ได้แชร์แนวทางการสร้างคำสั่ง (prompt) ให้ ChatGPT ผ่าน 5 Prompt Frameworks ที่จะช่วยให้สื่อสารกับ AI อย่างมีทิศทาง และได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพขึ้น

แนะนำ 5 Prompt Frameworks ที่จะช่วยให้คุยงานกับ AI รู้เรื่องมากขึ้น

1. R–T–F: Role, Task, Format 

ให้ AI สวมบทบาท ทำงานที่กำหนด และตอบในรูปแบบที่ต้องการ การกำหนดองค์ประกอบเหล่านี้ให้ชัดเจน จะช่วยให้ ChatGPT เข้าใจความต้องการของผู้ใช้ และสร้างผลลัพธ์ที่ตรงจุดยิ่งขึ้น

🧩 โครงสร้าง:

  • Role (บทบาท): ให้ AI เป็นใคร เช่น ผู้เชี่ยวชาญ, นักการตลาด, นักเขียน
  • Task (งาน): ต้องการให้ทำอะไร เช่น สร้างโพสต์, วางกลยุทธ์
  • Format (รูปแบบ): ให้ออกมาเป็นอะไร เช่น bullet point, รายงาน, สคริปต์
📌 ตัวอย่าง:
ทำตัวเป็นนักการตลาด Facebook Ads
ออกแบบแคมเปญเพื่อโปรโมทเสื้อผ้าออกกำลังกาย
ขอคำตอบในรูปแบบ storyboard ที่มีข้อความโฆษณา, รูปภาพ และกลุ่มเป้าหมาย

2. T–A–G: Task, Action, Goal

เริ่มจากสิ่งที่อยากให้ทำ → บอกว่าให้ทำยังไง → แล้วบอกว่าอยากได้ผลลัพธ์แบบไหน เน้นการจัดลำดับความสัมพันธ์ของงาน การกระทำ และเป้าหมาย ให้สัมพันธ์กันอย่างชัดเจน เพื่อให้ ChatGPT เข้าใจเจตนารมณ์ของผู้ใช้และตอบได้ตรงประเด็น

🧩 โครงสร้าง:

  • Task (งาน): สิ่งที่คุณต้องการให้ AI ทำ
  • Action (การกระทำ): วิธีการ หรือพฤติกรรมที่อยากให้ AI ใช้
  • Goal (เป้าหมาย): จุดหมายที่อยากได้จากการสนทนาครั้งนี้

📌 ตัวอย่าง:

งานที่จะให้ทำ คือประเมินผลงานทีม
ให้ AI สวมบทบาทเป็นหัวหน้า และวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของแต่ละคนในทีม
เป้าหมายคือต้องการเพิ่มคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยจาก 6 เป็น 7.5 ภายในไตรมาสหน้า


3. B–A–B: Before, After, Bridge

เล่าปัญหาปัจจุบัน → บอกผลลัพธ์ที่ต้องการ → ขอทางไปสู่เป้าหมายนั้น เน้นที่การแสดงให้เห็นถึง “การเปลี่ยนแปลง” อย่างชัดเจน โดยเริ่มจากสถานะก่อนหน้า (Before) ไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ (After) และมี “สะพาน” (Bridge) เชื่อมระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดหมาย

🧩 โครงสร้าง:

  • Before (ก่อน): ปัญหา/สถานะปัจจุบัน
  • After (หลัง): ภาพที่อยากให้เกิดขึ้น
  • Bridge (จุดเชื่อมโยง): ขอวิธี/ขั้นตอนในการเปลี่ยนจาก Before → After
📌 ตัวอย่าง:
ตอนนี้เว็บเรายังไม่ติด SEO เลย
อยากติด Top 10 บน Google ภายใน 90 วัน
ขอแผน SEO ละเอียด พร้อม keyword ที่ควรใช้ 20 คำ


4. C–A–R–E: Context, Action, Result, Example

อธิบายบริบท → ระบุสิ่งที่ให้ทำ → คาดหวังผลลัพธ์ → เสริมตัวอย่างเพื่อความชัดเจน เน้นให้ผู้ใช้ระบุบริบท กำหนดสิ่งที่ต้องการให้ทำ คาดหวังผลลัพธ์ และให้ตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่อเป็นแนวทาง ซึ่งการจัดโครงสร้างคำสั่งตามรูปแบบนี้จะช่วยให้ ChatGPT เข้าใจสถานการณ์ได้อย่างชัดเจน และสามารถตอบสนองได้อย่างตรงเป้าหมาย

🧩 โครงสร้าง:
  • Context (บริบท): เล่าฉากหลังให้ AI เข้าใจ
  • Action (การกระทำ): สิ่งที่ให้ AI ทำ
  • Result (ผลลัพธ์): ผลลัพธ์ที่ต้องการ
  • Example (ตัวอย่าง): ตัวอย่างงาน/กรณีศึกษาใกล้เคียง
📌 ตัวอย่าง:
เรากำลังเปิดตัวแบรนด์เสื้อผ้ารักษ์โลก
ช่วยคิดแคมเปญโฆษณาที่สื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อม
อยากได้ผลลัพธ์ที่เพิ่มทั้งยอด awareness และยอดขาย
ตัวอย่างคือแคมเปญ “Don’t Buy This Jacket” ของ Patagonia


5. R–I–S–E: Role, Input, Steps, Expectation

บอกบทบาท → ให้ข้อมูลที่มี → ขอขั้นตอนการทำงาน → ระบุสิ่งที่คาดหวัง โครงสร้างนี้ออกแบบมาเพื่อให้ ChatGPT สามารถให้คำตอบอย่างเป็นระบบ ด้วยการกำหนดชัดเจนว่าต้องแสดงบทบาทอะไร ใช้ข้อมูลอะไร ดำเนินการอย่างไร และผลลัพธ์สุดท้ายควรเป็นอะไร

🧩 โครงสร้าง:
  • Role (บทบาท): ให้ AI เป็นใคร เช่น ผู้เชี่ยวชาญ, นักการตลาด, นักเขียน
  • Input (ข้อมูล): ให้ข้อมูลที่จำเป็น
  • Steps (ขั้นตอน): ขอแนวทางแบบ Step-by-Step
  • Expectation (ความคาดหวัง): ระบุผลลัพธ์ที่ต้องการ
📌 ตัวอย่าง:
คุณคือ Content Strategist
เรามีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายครบ เช่น ความสนใจ คำถามที่พบบ่อย
ขอแผนกลยุทธ์คอนเทนต์แบบละเอียด
เป้าหมายคือเพิ่มคนเข้าเว็บ 40% และสร้างภาพแบรนด์ให้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม



การใช้ AI ไม่ใช่แค่พิมพ์คำถาม แต่คือ “การออกแบบคำสั่ง” ให้เข้าใจง่าย ชัดเจน และตรงเป้า และ Prompt Framework คือเครื่องมือเปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็น “ผู้สื่อสารกับ AI อย่างมีประสิทธิภาพ”


Sources::
https://red-website-design.co.uk/chatgpt-prompt-frameworks/

——
📌 สนใจ Corporate In-House Training ยกระดับทักษะองค์กรด้วย AI-People Enablement Solutions 
ติดต่อ [email protected]
หรือโทร 082-297-9915 (คุณโรส)
——