University Prep.

2 Min

12 Jun 2024

พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) เป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญสำหรับนักเรียนม.ปลายที่ต้องการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะผ่านโควต้า การรับตรง หรือระบบ TCAS พอร์ตที่ดีจะช่วยแสดงให้คณะกรรมการเห็นถึงศักยภาพ ความสามารถ และความตั้งใจจริงของนักเรียนได้ แต่น้องๆ หลายคนก็มักจะมีคำถามเกี่ยวกับการทำพอร์ต ว่าจะทำอย่างไรให้โดดเด่น เข้าตากรรมการดี ? วันนี้ Portfolio Sandbox โดย True Digital Academy รวบรวมมาให้แล้ว ไปดูกันเลย!

6 เทคนิคทำพอร์ต ให้จึ้ง ติดมหาลัยในฝัน

1. หาข้อมูลให้เป๊ะ

นี่เป็นสิ่งแรกที่น้อง ๆ หลายคนมักมองข้ามไป น้อง ๆ ควรจะเริ่มต้นจากการศึกษาหลักสูตร และ คุณสมบัติ เกณฑ์การคัดเลือก ของคณะและะมหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝัน วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายว่าอาจารย์น่าจะมองหาอะไรในตัวนักศึกษา และหากเป็นไปได้ลองติดต่อรุ่นพี่ที่เคยติดคณะนี้ เพื่อขอดูตัวอย่างพอร์ตเพื่อเป็นแนวทางในการทำพอร์ตของตัวเอง

2. เลือกกิจกรรม หรือค่ายที่ใช่

แน่นอนว่าข้อมูลในพอร์ต ไม่ใช่แค่ประวัติส่วนตัว และผลการเรียน แต่ควรเน้นให้เห็นการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะที่สมัครด้วย เช่น หากอยากเข้าคณะที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมดิจิทัล ก็อาจจะเลือกเข้าร่วมกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ได้แสดงไอเดียด้านนวัตกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัล แสดงให้เห็นว่าเรามีความสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่จะเรียนจริง โชว์ทักษะ และความสามารถที่เกี่ยวข้อง เลือกกิจกรรมหลากหลาย แสดงให้เห็นหลาย ๆ มิติของตัวเรา ทั้งกิจกรรมเชิงวิชาการ กิจกรรมสันทนาการ และที่ดีที่สุดคือกิจกรรมประกวด แข่งขันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3. สร้างผลงานที่โดดเด่น

ไฮไลท์สำคัญในพอร์ตคือ “ผลงาน” ที่ควรจะสื่อถึงความคิดสร้างสรรค์ และความตั้งใจจริง นำเสนอผลงานในรูปแบบที่น่าสนใจ สามารถใส่ได้ทั้งผลงานที่ทำขึ้นมาเอง ผลงานจากชั้นเรียน ผลงานจากชมรม หรือผลงานจากการเข้าค่าย แข่งขัน พร้อมหลักฐานยืนยันผลงาน เช่น รูปภาพ วิดีโอ รางวัล

4. เล่าเรื่องให้ชวนติดตาม

พอร์ตที่ดีควรมีสิ่งที่ต้องการจะเล่าให้ชัดเจน อธิบายถึงแรงจูงใจที่ทำให้อยากเรียนต่อในคณะดังกล่าว บอกเล่า ประสบการณ์ และบทเรียน ที่ได้จากแต่ละกิจกรรม โดยเน้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ

5. ออกแบบพอร์ตให้สะดุดตา

ใช้ดีไซน์ที่เรียบง่าย ทันสมัย เน้นให้อ่านง่าย ใช้ตัวอักษรขนาดเหมาะสมและสีที่ชัดเจน จัดเรียงเนื้อหาให้ เป็นระเบียบ ใส่รูปภาพ หรือวีดิโอที่เกี่ยวข้องได้ตามเหมาะสม (หากเป็นดิจิทัลพอร์ต)

6. ตรวจทานให้ละเอียด

เทคนิคสุดท้าย ที่ไม่อยากให้พลาด คือการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และตรวจทานตัวสะกด ไวยากรณ์ต่าง ๆ รวมถึงรูปแบบการจัดวางให้สวยงาม สิ่งเหล่านี้ล้วนบ่งบอกถึงตัวตนของผู้สมัครในทางอ้อม ว่าเป็นคนละเอียด และใส่ใจแค่ไหน หรือมีเซนส์ด้านการออกแบบหรือไม่


สุดท้ายนี้ ขอให้น้องทุกคน เชื่อมั่นในตัวเอง ตั้งใจเตรียมตัวสอบ และทำพอร์ตให้ดีที่สุด แสดงให้คณะกรรมการมองเห็นถึง ศักยภาพที่แท้จริงของน้อง ๆ ทุกคน ❤️

สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจเข้าค่ายปั้นพอร์ตด้านนวัตกรรมดิจิทัล ห้ามพลาด! ค่าย Young Innovator Bootcamp รุ่นที่ 2 ค่าย 3 วัน ที่จะได้ฝึกทั้งทักษะ Design Thinking แบบลงมือทำจริง! และได้ลงมือสร้างผลงานแอปพลิเคชันด้วยโปรแกรม Figma และนำเสนอผลงานผ่านการแข่งขัน Hackathon สุดมันส์ พร้อมนำผลงานไปใส่พอร์ตยื่นมหาวิทยาลัยได้เลย

👉🏻 รายละเอียดค่าย คลิก https://bit.ly/YoungInnovatorBootcampYIB2
📱สอบถามพี่ ๆ เพิ่มเติม Add LINE:  https://lin.ee/I7RTGWf

More Information

We will get back to you within 24 business hours
By submitting your information, you consent to allow True Digital Academy team to contact you or your organization via phone or email.